วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า
1. สายไฟฟ้า
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
1.1 ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.11) เท่านั้น
1.2 สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
1.3 เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับ สาย เช่น ลอดผ่านบานพับประตูหน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับ ได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
1.4 ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวนำทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า(1 เฟส หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์
![](https://i0.wp.com/www.thaitechno.net/uploadedimages/knowledge/images/km37865_20101027132018_560492627_fullsize.jpg)
1.5 ขนาดของสายต่อหลักดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2 ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน
![](https://i2.wp.com/www.bloggang.com/data/k/kanichikoong/picture/1369705640.jpg)
หมายเหตุ การเลือกขนาดสายต่อหลักดิน โดยพิจารณาจากขนาดตัวนำประธาน (สายเมน) ของระบบไฟฟ้า
1.6 มาตรฐานสีของฉนวนไฟฟ้า
![](https://i1.wp.com/topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/07/R9512420/R9512420-10.jpg)
2. มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในเดือนหนึ่ง ๆ โดยมีมอเตอร์ที่มาตรไฟฟ้าคอยหมุนตัวเลขบอกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกี่ กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือยูนิต หรือหน่วย
![](https://i0.wp.com/img.tarad.com/shop/c/chaidecho/img-lib/spd_20090530154953_b.jpg)
3. เมนสวิตช์ เป็นอุปกรณ์ตัวหลักที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทั้ง หมด จึงเป็นอุปกรณ์สับ-เปลี่ยนวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน เมนสวิตช์อาจเป็นอุปกรณ์ตัดไฟหลักตัวเดียว หรือจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในตู้แผงสวิตช์
![](https://i2.wp.com/www.sense.co.th/private_folder/Consumer_Unit_2.jpg)
4. สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (เซอร์กิตเบรคเกอร์) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ในขณะใช้งานปกติ และยังสามารถตัดกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอัตโนมัติได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เบรกเกอร์จะต้องเลือกขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเบรกเกอร์ให้สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นๆ
![](https://i1.wp.com/www.piyanas.com/webboard/file-lib/webboard/20090814212037.jpg)
5. ฟิวส์ (Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด ซึ่งเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์ที่ใช้เปลี่ยนต้องมีขนาดกระแสไม่เกินขนาดฟิวส์เดิม และต้องมีขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ไหลผ่านฟิวส์
![](https://i0.wp.com/www.eofficethailand.com/img/p/1629-1669-large.jpg)
![](https://i1.wp.com/img.tarad.com/shop/t/telepart/img-lib/spd_20100913172912_b.jpg)
6. เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเป็นสวิตช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรเมื่อมี กระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมัก จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะจะใช้ได้ดีเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินอยู่แล้วและจะช่วย ป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้ารั่วได้อีกด้วย เครื่องตัดไฟรั่วนี้จะต้องมีปุ่มสำหรับกดเพื่อทดสอบการทำงานอยู่เสมอ
![](https://i0.wp.com/www.taejai.com/sites/default/files/users/user-71/original/uu_0.png)
7. หลักดิน (Ground Rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode) เป็นแท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดย สะดวก วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น แท่งทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ความยาวมาตรฐานต้องยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น
![](https://i0.wp.com/www.cableaccs.com/earthing.jpg)
8. ตุ้มหรือลูกถ้วย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟ ทำหน้าที่เป็นฉนวนและป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือลัดวงจรลงดิน
![](https://i2.wp.com/www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/Product_39809_2020963_fullsize.jpg)
9. หลอดไฟฟ้า (Lamp) ทำหน้าที่ให้แสงสว่างสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน หรือที่อยู่อาศัย การติดตั้งระบบส่องสว่างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการจัดแสง และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือการเลือกประเภทและชนิดของหลอดไฟฟ้า โดยปกติทั่วหลอดไฟฟ้าไปแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
9.1 หลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้ (Filament Lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในรุ่นแรก ๆ หรือบางที่ก็เรียกว่าหลอดธรรมดา องค์ประกอบของหลอดประกอบด้วย หลอดแก้ว, ไส้หลอด, (ส่วนไส้หลอดทำจากทังสเตน) เส้นลวดที่ต่อเข้ากับขั้วหลอด, ลวดยึดไส้หลอด,และก้านหลอดยึดไส้, ปัจจุบันนิยมใช้ไม่มากนักเพราะให้กำลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดประเภทอื่น
ในกรณีกำลังวัตต์เท่ากัน มีจำหน่วยในท้องตลาดมีหลายขนาด เช่น 40วัตต์ 60วัตต์ 80วัตต์ 100วัตต์ ฯลฯ อายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือชนิด แบบเขี้ยว และชนิดแบบเกลียว
![](https://kwaithai.files.wordpress.com/2012/02/copy-of-light2.jpg?w=461&h=360)
9.2 หลอดไฟฟ้าชนิดเรืองแสง (Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ถึง 4 เท่า ให้แสงสว่างที่เย็นตามากกว่า รวมทั้งอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นจากหลอดน้อยกว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดประกอบด้วย
1) ตัวหลอด
2) ขั้วหลอด
3) ไส้หลอด
4) สารบรรจุภายในหลอด เช่น อาร์กอน และไอปรอท
หลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ที่จำหน่วยในท้องตลาด มีหลายลักษณะเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบวงกลม (32 วัตต์) แบบยาวตรง (18,36 วัตต์) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบคอมแพค (Compact) หรือหลอดตะเกียบ
![](https://i1.wp.com/www.green-the-world.net/images/energy_efficient_light_bulbs.jpg)
9.3 หลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค หรือหลอดไฟชนิดคายประจุ หลอดประเภทนี้ใช้กระแสไฟฟ้ามากในการทำงานไม่นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีหลายแบบ เช่น หลอดไอปรอท หลอดฮาโลเจน หลอดโซเดียม หรือหลอดแสงจันทร์
![](https://i1.wp.com/i00.i.aliimg.com/img/pb/751/616/640/640616751_747.jpg)
แสงสีของหลอด สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของมนุษย์ แสงที่ส่องกระทบวัตถุสามารถทำให้สีของวัตถุเปลี่ยนได้ ถ้าเลือกสีได้ถูกต้องจะทำให้มองสีของวัตถุไม่ผิดเพี้ยน และยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการทำงานได้ด้วย หลอดฟลูออเรสเซนต์จึงมีแสงสีต่าง ๆ หลายสีเพื่อให้เลือกใช้ตรงกับต้องการของงาน
แสงที่เรียกว่า เดย์ไลท์(DAY LIGHT) เป็นแสงที่มีสีใกล้เคียงกับสีของแสงแดด ทำให้การมองเห็นวัตถุที่ส่องด้วยแสงเดย์ไลท์เหมือนกับที่มองตอนกลางวัน ในบางประเทศที่ไม่ค่อยมีแสงแดดจะนิยมใช้หลอดชนิดนี้เพื่อให้ความรู้สึกว่ามี แสงแดด
หลอดวอร์มไวท์ (WARM WHITE) สี ของแสงจะออกไปทางแดงปนเหลืองให้ความรู้สึกอบอุ่น ในประเทศหนาวนิยมใช้สีนี้ในบางสถานที่ เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น ช่วยให้ลดความรู้สึกหนาวได้บ้าง วัตถุที่ส่องด้วยแสงสีนี้จะมีสีเพี้ยนไปบ้าง
หลอดคูลไวท์ (COOL WHITE) สีของแสงอยู่ระหว่างหลอดเดย์ไลท์กับหลอดวอร์มไวท์ ให้สีที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ นิยมใช้งานทั่วไป เหมาะที่จะใช้ในสถานที่ทำงานต่าง ๆ และในห้างสรรพสินค้า
หลอดแบล๊คไลท์ (BLACK LIGHT) เป็น หลอดที่มีหลอดเป็นแก้วสีดำ ให้แสงที่ตามองไม่เห็น แต่เมื่อไปกระทบกับวัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงนวลสวยงามนิยมใช้ตามร้านอาหาร ภัตตาคาร และสถานที่ที่มีการแสดงในเวลากลางคืนหลอดชนิดนี้จะแผ่รังสีไวโอเลตในปริมาณ สูงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตาและผิวหนัง จึงไม่ควรใช้เป็นเวลานาน ๆ
10. สตาร์ทเตอร์ ทำหน้าที่คล้ายเป็นสวิทช์ อัตโนมัติ เพื่อเปิดและปิดวงจรของหลอด ฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเริ่มต้นทำงานสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เปิดวงจรเพื่ออุ่นไส้หลอดให้พร้อม ที่จะทำงาน เมื่อไส้หลอดทำงานเรียบร้อยแล้วสตาร์ทเตอร์ก็ปิดวงจร
11. บัลลาส ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะ สมกับหลอดซึ่งแรงดันไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นจะสูงมาก เพื่อจุดไส้หลอดให้ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา หลังจากหลอดทำงานแล้ว บัลลาสจะเปลี่ยนหน้าที่โดยจะเป็นตัวจำกัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าหลอด
12. เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle) หรือปลั๊กตัวเมียคือขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น
13. เต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนำปลายของสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเต้าเสียบ
ไปเสียบกับเต้ารับ ที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าใดๆ ก็ได้ภายในบ้าน
14. สวิตช์เปิด-ปิดธรรมดา (Toggle Switch) สวิตช์เปิด-ปิดในที่นี้ หมายถึงสวิตช์สำหรับเปิด-ปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีการติดตั้งสวิตช์เอง
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้า
1. เข็มขัดรัดสาย หรือที่เรียกทั่วไปว่า คลิป (clip) หรือ กิ๊ป ผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปเป็นแผงบางๆแต่มีความเหนียว มีหลายขนาด เช่น เบอร์ ¾, 0, 1, 1 ½, 2, 2 ½, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั่งแต่ เบอร์ 3 ถึง เบอร์ 6 จะมีขนาดสองรู ขนาดอื่นๆ จะมีรูเดียว
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้า
1. เข็มขัดรัดสาย หรือที่เรียกทั่วไปว่า คลิป (clip) หรือ กิ๊ป ผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปเป็นแผงบางๆแต่มีความเหนียว มีหลายขนาด เช่น เบอร์ ¾, 0, 1, 1 ½, 2, 2 ½, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั่งแต่ เบอร์ 3 ถึง เบอร์ 6 จะมีขนาดสองรู ขนาดอื่นๆ จะมีรูเดียว
2. ตะปู ขนาด 3/8 นิ้ว, 5/16 นิ้ว ใช้ตอกบนอาคารฉาบปูน และขนาด ½ นิ้ว สำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้
3. พุก (fixer) ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุก ที่ใช้งานทั่ว มี 3 แบบ คือ
3.1 พุกพลาสติก ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก เช่น ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัทเอ้าท์ จะใช้พุกขนาด M7 (เอ็ม-เจ็ด) กล่าวคือ ต้องใช้อดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5-6 มม. นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7
3. พุก (fixer) ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุก ที่ใช้งานทั่ว มี 3 แบบ คือ
3.1 พุกพลาสติก ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก เช่น ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัทเอ้าท์ จะใช้พุกขนาด M7 (เอ็ม-เจ็ด) กล่าวคือ ต้องใช้อดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5-6 มม. นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7
3.2 พุกตะกั่ว ใช้กับงานขนาดกลาง เนื่องจากทนแรงกดและน้ำหนักได้ดีกว่า เช่นการติดตั้งตู้โหลดเซนเตอร์
3.3 พุกเหล็ก หรือที่เรียกว่า โบลว์ (bolt) ใ ช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงทุกประเภทเนื่องจากรับน้ำหนักได้ดี แต่มีราคาแพง
4. สกรู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตะปูเกลียวปล่อย มีสองชนิดคือ ชนิดหัวแฉกและชนิดหัวแบน
5. แป้นไม้ ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด อาทิ เช่น 4 × 6 นิ้ว 8 × 10 นิ้ว เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตแป้นพลาสติกออกมาใช้งานควบคู่กับแป้นไม้ ได้รับความนิยมใกล้เคียงกัน
6. เทปพันสายไฟ เป็นเทปพลาสติคหรือผู้ทำ หน้าที่เป็นฉนวนใช้พันสายไฟบริเวณจุดต่อของสายเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเทปที่ดีควรเป็นฉนวนที่ดี อ่อน เหนียว และกาวของเทปมีความเหนียวคงทน เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี
7.เคเบิ้ลไทร์(Cable Ties) เข็มขัดรัดสายไฟ, สายรัดไนล่อนเอนกประสงค์ สายรัดในล่อน เอนกประสงค์
8. ตลับแยกสาย มีลักษณะกลมมีฝาเกลียวปิด หรือเป็นกล่องพลาสติคสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถเจาะรูออกรอบ ๆ ได้ 4 รู ตลับแยกสายมีไว้สำหรับต่อสายภายในตลับ เพื่อให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ในการต่อแยกสายไปใช้หลายจุด เช่น ปลั๊ก สวิทช์ ดวงโคม ฯลฯ แต่ในปัจจุบันตลับแยกสายไม่เป็นที่นิยมในการต่อจุดแยก ส่วนใหญ่จะนิยมเชื่อมต่อวงจรภายในแผงสวิทช์หรือปลั๊กแทน
9. แป้นไม้, แป้นพลาสติค ทำด้วยไม้หรือพลา สติค ทรงสี่เหลี่ยมมีหลายขนาด เช่น 8 นิ้ว x 10นิ้ว , 10นิ้ว x 12นิ้ว , 6 นิ้ว x 8 นิ้ว , ฯลฯ ใช้สำหรับติดตั้งหรือรองอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สวิทช์ ปลั๊ก เบรกเกอร์ คัทเอาท์ ฯลฯ ในบางกรณีแป้นไม้ หรือ พลาสติคสามารถใช้แทนตลับแยกสาย
10. บ๊อกสวิทช์,ปลั๊ก สำหรับติดตั้งหน้ากาก สวิทช์และปลั๊ก แยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ บ๊อกใช้สำหรับฝังในผนังปูน อาจทำด้วยเหล็กหรือพลาสติค และอีกประเภทหนึ่งคือ บ๊อกติดภายนอกผนังปูน (บ๊อกลอย) ส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติค
11. หน้ากาก สวิทช์-ปลั๊ก สำหรับติดตั้งสวิทช์และปลั๊ก ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพราะติดตั้งได้ง่าย เรียบร้อยกว่าสวิทช์-ปลั๊ก รุ่นแรก ๆ แยกได้ 3 ลักษณะ คือ หน้ากาก 1 ช่อง, หน้ากาก 2 ช่องและหน้ากาก 3 ช่อง ใน 1 ช่องนั้น สามารถติดปลั๊กหรือสวิทช์ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น
12. ท่อสำหรับเดินสายไฟ เป็นท่อ P.V.C สำหรับใส่สายไฟเข้าไปภายใน ปัจจุบันนิยมใช้ท่อเดินสายไฟภายในอาคารเพราะสะดวกในการติดตั้ง และสามารถซ่อมแซมระบบสายไฟได้ง่าย มีหลายขนาด ที่นิยมใช้ คือขนาด 20 มิลลิเมตร 25 มิลลิเมตร และ 30 มิลลิเมตร ลักษณะของท่อ P.V.C ที่ใช้สำหรับงานไฟฟ้ามี 2 สี คือ ท่อสีขาว สำหรับเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไป ท่อสีเหลือง เหมาะสำหรับเดินสายไฟฟ้าฝังดินหรือเดินสายไฟภายในโรงงาน
13. อุปกรณ์สำหรับท่อเดินสายไฟ อุปกรณ์ที่ กล่าวถึงในที่นี้เป็นอุปกรณ์ทั่วไป สำหรับการติดตั้งระบบการเดินสายไฟฟ้าแบบปิด (ร้อยท่อ) ทำหน้าที่ในการยึด-ต่อ อุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้แข็งแรงและสวยงาม เช่น
13.1 ข้อต่อตรง สำหรับต่อท่อเข้าด้วยกัน
13.2 คอนเนกเตอร์ สำหรับต่ออุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน
13.3 ข้อต่ออ่อน สำหรับต่อท่อที่เยื้องหรืออยู่คนละแนวกัน
13.4 ข้องอ สำหรับต่อท่อที่หักเลี้ยวเป็นมุมฉาก
13.5 สามทาง สำหรับต่อแยกท่อได้ 3 ทาง
13.6 เข็มขัดรัดท่อ สำหรับยึดท่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น