เมนสวิตช์

เมนสวิตช์ (MAIN SWITCH) 

เมนสวิตช์ Main Switch หรือสวิตช์ประธาน  หมายถึง อุปกรณ์บนแผงวงจรควบคุมการจ่ายไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัย สามารถสับหรือปลดออกได้ทันที เมนสวิตซ์มักจะหมายถึง อุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้านครหลวงเข้ามาในบ้าน ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินและลัดวงจรด้วย

     1.ขนาดปรับตั้งของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจร เช่น ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องเลือกขนาดให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่เกิดลัดวงจร หรือมีกระแสไฟฟ้าเกินก่อนที่สายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ จะเสียหาย     
     2.ความสามารถหรือพิกัดในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (IC หรือ Interrupting Capacity หรือ Interrupting Rating) ของฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องสูงกว่าค่ากระแสลัดวงจรของระบบไฟฟ้าที่ตำแหน่งติดตั้ง ปกติจะมีหน่วยเป็น kA หรือกิโลแอมแปร์ ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) นี้จะต้องสอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานด้วย เช่น พิกัด IC = 10 kA สำหรับแรงดัน 120 V เมื่อนำไปใช้กับแรงดัน 240 V จะมีพิกัด IC ลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง 
     3.ตำแหน่งของเมนสวิตซ์ต้องอยู่ห่างจากวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ผ้า กระดาษ หรือ สารไวไฟ เช่น ทินเนอร์ผสมสี     
     4.ตู้เมนสวิตซ์ หากทำด้วยโลหะต้องต่อลงดิน หากไม่ใช่โลหะต้องทำด้วยสารที่ไม่ติดไฟได้ง่าย หรือทำด้วยวัสดุที่ไม่ไหม้ลุกลาม (Flame - retarded)






 ตู้เมนสวิตช์ชนิดที่ใช้กับบ้านอยู่อาศัยทุกวันนี้ นอกจากจะประกอบด้วยตัวเมนสวิตช์แล้ว มักจะมีอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่ว เบรกเกอร์ย่อยสำหรับป้องกันวงจรย่อยหลายๆ ตัวรวมกันอยู่ในกล่องหรือตู้ ที่มักรู้จักกันว่า ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (consumer unit)

ส่วนประกอบหลักของเมนสวิตช์ MAIN SWITCH 

1. โครงตู้ (Enclosure) ทํามาจากแผ่นโลหะประกอบเป็นโครงตู้ ซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้า โดยมีคุณสมบัติที่สําคัญคือ
   1.1 คุณสมบัติทางความร้อนคือทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติในระบบและ อาร์กจากการลัดวงจรได้
       1.2 คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้ นอกจากนี้ โครงตู้ยังทําหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ 

                  a. .ป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ใกล้สวิทช์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ 
                           b. ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากสิ่งต่าง ๆ ภายนอกเช่น น้ำ วัตถุแข็ง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น
                           c. ป้องกันอันตรายจากการอาร์กที่รุนแรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา
       2.  เซอร์กิตเบรคเกอร์ (Cricuit Breaker)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำงาน เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า แบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแส ไหลผ่าน เกินกว่าค่าที่กำหนด โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นสำหรับเซอร์กิตเบรคเกอร์ที่อยู่ในเมนสวิตช์ MAIN SWITCH ทั่วไป ได้แก่Mold case circuit breaker Miniature circuit breaker  เป็นต้น
       โครงสร้างภายในเซอร์กิตเบรคเกอร์ 


       3.  สายไฟฟ้า (Cable เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย





การต่อสายที่แผงเมนสวิตช์และเต้ารับ

          วีดีโอการติดตั้ง






       ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ตามนี้นะครับ

        https://sites.google.com/site/mabkingnadid/khwam-plxdphay

        http://www.faifadd.com/index.php?lite=article&qid=42177006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น